รายงานผลการประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ จากงานวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทาน และกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตร ในภาคเหนือตอนบน 2 ปี 2564

        

บทสรุปผู้บริหาร

     การประเมินผลผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากงานวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทาน และกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพืช 5 ชนิดที่งานวิจัยได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาฯ ซึ่งประกอบด้วย ข้าว โคขุน ส้มสีทอง มะไฟจีน และปลานิล ผลการประเมิน พบข้อมูลดังนี้

     ในงานวิจัยเกี่ยวกับข้าว พบการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้และต้นทุนของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ข้าวสารแบบแพ็คคู่ จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวมีรายได้สุทธิของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 664.29 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ นอกจากนี้การนำการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ข้าวสารแบบแพ็คเก็ตวันขึ้นปีใหม่จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวมีรายได้สุทธิของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 835.71 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึง การนำการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตข้าวจากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.21 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า 1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 16,111,366.10 บาท 2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 10.64 3) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 2.57 และ 4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 1.94 ปี หรือ 1 ปี 11 เดือน 9 วัน จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของข้าว มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 8,878,999.00 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

     ในงานวิจัยเกี่ยวกับโคขุน พบการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้และต้นทุนของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการปรับปรุงสายพันธุ์โคจากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้รายได้สุทธิของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 43.40 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า 1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 55,543,519.15 บาท 2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 19.70 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.34 และ 4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.72 ปี หรือ 3 ปี 8 เดือน 20 วัน จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของโคขุน มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 21,082,543.28 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

     ในงานวิจัยเกี่ยวกับส้มสีทอง พบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้และต้นทุนของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตส้มสีทองจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการสร้างระบบและกลไกการขับเคลื่อนโลจิสติกส์ผลผลิตส้มสีทองระหว่างจังหวัดจากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้รายได้สุทธิของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตส้มสีทองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 56.52 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า 1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 12,744,912.42 บาท 2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 10.48 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.45 และ 4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.44 ปี หรือ 3 ปี 5 เดือน 10 วัน จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของส้มสีทอง มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 5,882,171.52 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

     ในงานวิจัยเกี่ยวกับมะไฟจีน พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านรายได้และต้นทุนของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมะไฟจีนจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปมะไฟจีนอบแห้ง (แบบถุง 200 กรัม) จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.00 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ในขณะที่การนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปมะไฟจีนอบแห้ง (แบบถุง 50 กรัม) จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.57 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปโลชั่นมะไฟจีน (แบบขวด 80 กรัม) จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปชามะไฟจีนผสมลำไย (แบบกล่อง) จากงานวิจัยไปปฏิบัติ ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้รวมของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมะไฟจีนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.27 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้รวมก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า 1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 5,857,300.68 บาท 2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 3.79 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.30 และ 4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.85 ปี หรือ 3 ปี 10 เดือน 6 วัน จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของมะไฟจีนมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 1,871,284.52 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

     ในงานวิจัยเกี่ยวกับปลานิล พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านรายได้และต้นทุนของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลานิลจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตปลานิลคุณภาพจากงานวิจัยไปปฏิบัติทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปลานิลมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น ร้อยละ 150.16 เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และเมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า 1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 6,673,177.08 บาท บาท 2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 2.29 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.88 และ 4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 2.63 ปี หรือ 2 ปี 7 เดือน 17 วัน จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของปลานิล มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 5,380,480.40 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

     ทั้งนี้การดำเนินโครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 สามารถจะช่วยทำให้เกิดรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า  43,001,640.26 บาท ในระยะเวลา 5 ปี